托钵

0

บิณฑบาต

托钵

บิณฑบาต เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ เป็นการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจ  ในปัจจุบันนี้  ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และยังสามารถการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย

托钵是比丘和沙弥的日常事务。佛陀曾赞美说:托钵为高尚之行仪,亦可普济众生。事实上,托钵也是一种弘法。在佛陀时代,当施主供钵后,僧众会为他们开示说法,这也是现今僧众饭食后诵经祝福的缘起。如今,佛教徒将此文化看作是一种功德的累积,也可将功德回向给往生的亲人。

แต่ในสังคมปัจจุบัน หลายคนมองว่าพระบิณฑบาต เป็นการขอความช่วยเหลือจากญาติโยม ซึ่งความจริง ต้องมองไปยังจุดเริ่มต้น คือ พระภิกษุท่านมีคุณธรรมหลายประการ ดังนั้นสาธุชนจึงอยากที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้พระภิกษุท่านไม่ต้องกังวลเรื่องการหุงหาอาหาร แสวงหาปัจจัย 4 เพื่อให้ท่านมีเวลาในการศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น

当今社会,有的人认为比丘托钵是向居士乞食。事实上,应从其本源去理解,即比丘具足诸多德行,居士自愿发心护持,使比丘不必为饮食或四事担忧,安心修行佛法与禅定。

 

คุณธรรมของพระสงฆ์ที่ทำให้ท่านเป็นเนื้อนาบุญ สมควรได้รับความเคารพยกย่อง

比丘具足的德行:

 

  1. พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

1.比丘精进修行:遵循佛陀的教法精进修行中道,远离苦行与欲乐两种极端。

  1. เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่ลวงโลก ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงต่อหนทางพระนิพพาน

2.比丘如法修行:修行不是为了炫耀、欺骗、迷惑众生,而是为了证入究竟涅槃。

  1. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ มุ่งปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรม

3.比丘为知法离苦而修行:即为证悟佛法,离苦得乐一心修行。

พระสงฆ์ผู้มีคุณสมบัติ ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นผู้ควรแก่การเคารพกราบไหว้  และเป็นเนื้อนาบุญของโลก สิ่งของที่ถวายแด่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์

比丘具足的德行,使他们不仅深受爱戴与礼敬,还成为世人的福田。虔诚如法供养比丘僧众,将会获得不可思议的功德果报,犹如将植物播种在肥沃的田地里,丰收时必将硕果累累。

 

การบิณฑบาตครั้งแรก

首次托钵

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่เหล่าพระประยูรญาติในกรุงกบิลพัสต์  ในเช้าวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จมาประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้ว ทรงปฏิบัติอย่างไร เมื่อทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านเพื่อโปรดหมู่ชนทั้งปวง พระบรมศาสดาจึงเสด็จพุทธดำเนินบิณฑบาตไปตามท้องถนนหลวงพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์ขีณาสพ บรรดาอาณาประชาราษฎร์เมื่อได้ชื่นชมพระบารมีต่างมีความปีติยินดีปราโมทย์ประนมมือถวายอภิวาทพร้อมแซ่ซ้องสาธุการดังไปทั่วทั้งพระนคร

有一次,佛陀回到迦毗罗卫城为释迦族人讲经说法。翌日,佛陀如是省察:当过去诸佛返回自己的国家时,是如何接受供养的?随后佛陀以智慧如实了知,过去诸佛会次第托钵,度化众生。于是,佛陀决定遵循传统,带领众比丘持钵次第化缘。消息一经传出,全城百姓皆法喜充满,纷纷虔诚行大布施,随喜赞叹声也响遍全城。

 

จุดประสงค์ในการบิณฑบาต

托钵的目的

พระภิกษุออกบิณฑบาต เพื่อต้องการอาหาร มายังให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ เป็นการเยียวยาความหิว  ความกระหายของร่างกายให้หมดไป เมื่อร่างกายมีเรี่ยวแรงกำลัง ก็นำมาใช้ศึกษาธรรมะและประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อนำธรรมะเหล่านั้นมาแนะนำสั่งสอนผู้คน

比丘托钵是为了资养色身,使身体充满力量,专心精进修行,将佛法弘传给世人。

 

การบิณฑบาตยังเป็นการส่งเสริมความวิริยะ อุตสาหะ ความอดทน ทำให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย  เป็นเครื่องช่วยปราบกิเลสตัณหา ที่มีอยู่ในใจ  เป็นการฝึกให้ไม่หลงไปตามความอยากของลิ้น ของตา ของจมูก  ที่ชอบรสอาหารที่ถูกอกถูกใจ

托钵可以培养精进与忍辱,成为少欲知足者,有助于消除内心的烦恼,使自己的眼、鼻、舌,不沉迷于食物的色、香、味。

 

ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ได้บวชเพื่อหาลาภสักการะ  หาความอิ่มหนำสำราญ จากอาหารคาวหวานต่างๆ  ที่ญาติโยมนำมาถวาย  แต่มาบวชเพื่อชำระความโลภ ความโกรธ ความหลง  กิเลสตัณหา อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นโซ่ตรวนที่ผูกให้สัตว์โลกทั้งหลาย ให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด

出家者,不是为了受人敬奉,享受施主供养的各种美味佳肴。而是为了断尽使众生受苦,历经无尽轮回的贪、嗔、痴。

 

อากัปกิริยาในการบิณฑบาต

托钵的威仪

เวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาต พระภิกษุจะใช้ 2 มือประคองบาตรเอาไว้แล้วเดินในกิริยาสำรวม พระภิกษุจะไม่เอ่ยปากขออาหารจากผู้คน หรือแสดงกิริยาในการขอ หรือยืนรอ (นอกจากได้รับนิมนต์ให้รอ)  และเมื่อเวลามีคนถวายทาน (ใส่บาตร) พระภิกษุต้องรับทานโดยที่ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้

比丘托钵时,以双手持钵,威仪庄严的行脚街道或村落,领受施主布施。比丘不会向施主开口讨食,或展现乞食的行为,也不会站立等候(除非施主让其等候)。当施主供钵时,比丘会主动接受食物,不能捡择或拒绝,也不能告诉施主想要什么。

 

สิ่งที่ควรแก่การถวายพระที่มาบิณฑบาต

适合布施之物

ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้  และสิ่งที่จะนำมาใส่บาตร ควรเป็นอาหาร เพื่อให้พระฉันได้  ตามหลักในพระพุทธศาสนา มีเนื้อสัตว์ 10  อย่าง ที่ห้ามฉัน ได้แก่ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว

通常情况下,施主会尽力供养精美之物。适合供钵之物,应为比丘可食用之物。根据佛教规定,比丘不能食用十种动物的肉,分别是:人肉、象肉、马肉、狗肉、蛇肉、狮子肉、老虎肉、豹肉、熊肉和土狼肉。

 

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระเทวทัตเสนอให้พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อตลอดชีวิต  พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงอนุญาตหรือบัญญัติกฎตามที่ขอ  ทรงสอนมิให้ฆ่าสัตว์เองหรือสั่งให้ผู้อื่นฆ่า อีกทั้งได้มีพุทธบัญญัติ ห้ามพระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุ  และพระภิกษุนั้น  1.รู้   2.เห็น  หรือ  3.ได้ยินว่า เนื้อนั้นมาจากการฆ่า เพื่อที่จะนำมาถวายตน

在佛陀时代,提婆达多比丘曾向佛陀提议,禁止比丘食肉。佛陀既没有同意也没有反对,只是教诲众比丘说:不能亲自宰杀,或命令他人宰杀动物。同时规定比丘不得明知而食用指定杀的动物之肉,以及比丘也不得食用因看见、听说和怀疑,为自己而宰杀的动物之肉。

 

ข้อควรปฏิบัติของผู้ใส่บาตร

施主供钵时,应注意的事项:

1.ถอดรองเท้า และหมวก เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ โดยส่วนใหญ่จะคุกเข่ายืน หรือจะยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่ ตามความเหมาะสม ควรใส่ชุดที่สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะชุดของผู้หญิง ไม่ควรคอกว้าง รัดรูปและบางเกินไป

1.应脱下鞋子和帽子以示尊敬,依情形和当时条件跪坐或站立供钵。着装庄严得体,特别是女施主着装不应过宽、过窄或过薄。

2.ก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึง  สาธุชนมักจะนำอาหารที่จะถวาย จบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน

2.通常在比丘到来前,施主可将供养之物,举至眉心虔诚发愿。

3.เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึง จะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตร  แล้วเปิดฝาบาตร จากนั้นคนที่ตักบาตรจะค่อยๆนำทานที่ตนมีใส่ลงไปในบาตรด้วยความนอบน้อม ไม่ควรชวนสนทนา หรือถามว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร

3.当比丘行至面前站立,打开僧钵盖子后,施主应以恭敬心将供养品放入僧钵中,过程中不应交谈或询问比丘是否喜欢供养品。

4.เมื่อถวายเสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร

4.供养后比丘会诵经祝福,施主应双手合十接受祝福。

5.ขณะที่พระให้พร  คนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ และอธิษฐานจิตให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

5.在比丘诵经祝福过程中,施主可以倒水回向功德,也可以虔诚发愿,让生命更加美好。

6.หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้ว คนที่ตักบาตร กล่าว “สาธุ” เป็นอันเสร็จพิธี

6.比丘诵经祝福后,施主应以 “萨度”作为结束语。

การดำรงชีพของพระสงฆ์นั้นอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัดถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และเป็นผู้นำธรรมะที่ศึกษาแล้วมาสั่งสอนแก่สาธุชน

比丘依靠施主的布施资养色身,具足力量修行佛法和禅定。最终,将学有所成之佛法用于普度众生。

พระภิกษุคือผู้อุทิศตน ยอมสละความสะดวกสบายทางโลก เพื่อศึกษาคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่พึ่งที่แท้จริง เป็นของสูงค่า ทำให้เรามีหลัก มีแนวทางในการดำเนินชีวิต ทรัพย์ที่เราถวายเมื่อเทียบกับธรรมะอันทรงคุณค่าที่พระภิกษุผู้อุทิศตนได้แนะนำสั่งสอน เรียกได้ว่าน้อยนิด ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเอง ส่วนพระภิกษุจะได้มีเรี่ยวแรงกำลังพัฒนาตนให้กลายเป็นผู้ที่มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถนำธรรมะขยายสู่ผู้คนได้มากขึ้นเรื่อยๆ แผ่เป็นวงกว้างออกไป จนชาวโลกได้รู้จักสันติสุขที่เกิดจากภายใน

比丘具足舍身求法的精神,愿意舍弃世俗的舒适和方便,出家入佛门修行佛法。事实上,佛法既是出家人和在家人的依靠,也是无上之宝,可以让自己如法的修行与生活。我们以日常四事供养,比丘以殊胜之法做教诲,可谓是利人利己!因此,佛教徒应广行布施,这不仅是为自己累积福德资粮,也可以护持出家人,使他们具足身心力量精进修行,净化身口意,继续弘扬正法,使世人如实了知内在的快乐。

Previous article佛教之沙弥
Next article如因静坐而心情好,将会影响思想、言语和行为